September 2020

โครงการส่งเสริมเศษฐกิจชุมชน(ความมั่นคงทางอาหาร)และกลุ่มออมทรัพย์ ( VSLA )

มีการส่งเสริมกลุ่มออมทรัพย์รูปแบบVSLAและต่อด้วยกิจกรรม การทำเกษตรหลังบ้าน  องค์กรส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายทำเกษตรหลังบ้าน โดยใช้พื้นที่ที่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด  มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อลดรายจ่าย และรายได้เสริมภายในครอบครัว  เพื่อผลิตผักอินทรีย์ ที่ปลอดภัยจากสารเคมี      การออมทรัพย์ หมายถึง การประหยัด การเก็บสะสมไว้ใช้ในอนาคต เมื่อมีเหตุการณ์จำเป็น เช่น เจ็บป่วย หรือเมื่อเข้าสู่วัยชรา วัตถุประสงค์สร้างกลุ่มออมทรัพย์ VSLA  เพื่อรวบรวมคนภายในชุมชน ที่เข้าใจกัน อย่างน้อย 10-25 คน สร้างนิสัยการออมและสร้างความสามัคคีกันภายในกลุ่ม  เพื่อให้สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ VSLA รู้จักสงเคราะห์ช่วยเหลือกันที่จำเป็น  เช่น ทำบุญ/ถวาย ช่วยเหลือ หนุนเสริมกันภายในกลุ่ม มีกิจกรรมเกษตรดังนี้ การปลูกผักสวนครัว

โครงการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการเข้าถึงการบริการของภาครัฐ)

การส่งเสริมพัฒนาศักยภาพชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิ์เพื่อพัฒนาชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการเข้าถึงการบริการของภาครัฐ        การทำงานเครือข่ายเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กันในการทำงานเพื่อดำเนินกิจกรรมตามความเหมาะสม ภายใต้กฎเกณฑ์ หรือเป้าหมายร่วมกัน และมีความร่วมมือการปฏิบัติงานอย่างมีทิศทาง ทำให้เกิดพลังและดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของกลุ่ม หรือเครือข่าย งานเครือข่าย การติดตามเยี่ยมเยือนพื้นที่เป้าหมาย

โครงการส่งเสริมผู้นำ ด้านสังคม และ จริยธรรม (ด้านจิตวิญญาณ)

ส่งเสริมแนวคิดการพัฒนาแบบองค์รวม เราเป็นผู้อารักษ์ขาและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เราในฐานะคริสต์เตียนควรเป็นแบบอย่างในการคืนดีกับพระเจ้า ระหว่าง “เรา กับ พระเจ้า , มนุษย์กับมนุษย์ และ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมหรือสรรพสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างไว้” เพื่อรักษาความสมดุลที่พระเจ้าทรงสร้างอย่างยั่งยืนไว้ให้กับลูกหลานในระยะยาว

โครงการส่งเสริมฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า

ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใประเทศไทย ได้แก่  ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ(ดิน/น้ำ/ป่าทั้งในด้านปริมาณที่จำกัดและลดน้อยลงจนใกล้ ภาวะขาดแคลน และด้านคุณภาพ เช่นพื้นที่ป่าลดและเสื่อมโทรม ดินเสื่อมสภาพ  แม่น้ำลำคลองแห้งและเน่าเสีย เป็นต้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้ปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดสภาพเสื่อมโทรมและลดลง อย่างรวดเร็วทำให้เกิดสภาวอากาศเปลี่ยนแปลง และเกิดการวิกฤตการณ์ทรัพยากรในประเทศทั่วโลก การบริหารจัดการป่าชุมชน ความสำคัญของป่าชุมชน เพื่อแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น ที่สำคัญได้แก่ แหล่งต้นน้ำลำธารอันส่งผลต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร การอุปโภค และการบริโภคในครัวเรือน สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านไฟป่าและหมอกควันที่คุกคามต่อพื้นที่ป่าและสุขภาพประชาชนโดยรวม 1.1การจัดทำฝาย